ข่าวประชาสัมพันธ์ เปิดผลสำเร็จ 2 ปี โครงการนำร่อง Rigs-to-Reefs ครั้งแรกของเมืองไทย พลิกบทบาทขาแท่นปิโตรเลียม สู่บ้านปลาหลังใหม่ใต้ทะเล
แม้การนำขาแท่นหลุมปิโตรเลียมมาจัดวางเป็นปะการังเทียมจะไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 40 ปี รวมถึงประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนอกชายฝั่งฟลอริด้า อ่าวเม็กซิโก บรูไน และมาเลเซีย แต่การนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดวางเป็นปะการังเทียม บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาพัฒนาและปฏิบัติจริง ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัทพลังงานชั้นนำของโลก ได้บุกเบิกแนวคิดของโครงการฯ และร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมและผู้ประกอบการปิโตรเลียมรายอื่นๆ ในอ่าวไทย เพื่อนำโครงสร้างเหล็กจำลองวัสดุเดียวกับขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปวางไว้ในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำ ของเกาะพะงันเพื่อผลักดันให้เกิดโครงการศึกษาทดลองอย่างจริงจังร่วมกัน โดยได้ผลประจักษ์ของประชากรปลาและสิ่งมีชีวิตเกาะติดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินงานจริง ทั้ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมเจ้าท่า กรมประมง กองทัพเรือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงเกิดเป็นโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โครงการนำร่องฯ) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโครงการฯ ร่วมกับ เชฟรอน ผู้ส่งมอบขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วจำนวน 7 ขาแท่น ให้แก่ ทช. ในปี 2563 เพื่อนำไปจัดวางเป็นปะการังเทียม รวมทั้งให้การสนับสนุนในการจัดวางและงบประมาณการดำเนินโครงการฯ พร้อมด้วยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาทางวิชาการให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาการของทั้งในและต่างประเทศ จนนำมาสู่ผลสำเร็จจากการจัดวางขาแท่นปิโตรเลียมตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในวันนี้
“จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากขาแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการนำไปจัดการบนฝั่ง” นายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เล่าถึงที่มาของโครงการนำร่องฯ ว่า “อ่าวไทยเปรียบเสมือนบ้านของเรา โดยตลอดกว่า 60 ปีของการดำเนินธุรกิจของเชฟรอนในประเทศไทย เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และได้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลมาตลอด เราสังเกตถึงความอุดมสมบูณ์และการเติบโตของประชากรปลาในบริเวณแท่นผลิตปิโตรเลียม โดยมีปลาหลากหลายชนิด รวมถึงฉลามวาฬเข้ามาแวะเวียนเสมอ โดยนอกจากบทบาทขณะที่อยู่กลางอ่าวไทยในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศแล้ว ขาแท่นหลุมปิโตรเลียมยังมีอีกหนึ่งบทบาทแฝงซึ่งทำหน้าที่เสมือนปะการังเทียมอยู่ตลอด จึงเกิดแนวคิดต่อยอดการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรทางทะเลรวมถึงประชากรปลาผ่านการพลิกบทบาทจากปลายทางของขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วสู่บ้านปลาแห่งใหม่ โดยแม้จะเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ในฐานะบริษัทพลังงานที่มีกิจการทั่วโลก เราจึงสามารถนำโครงการ Rigs-to-Reefs ที่เชฟรอนเคยทำจากต่างประเทศมาปรับใช้สำหรับโครงการนี้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้การต่อยอดโครงการในประเทศไทย”
หลังจากจัดวางแท่นปะการังเทียมเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนตุลาคม 2565 เรียกได้ว่าความคาดหวังดังกล่าวเริ่มกลายเป็นความจริง โดยอ่าวโฉลกหลำบริเวณทางเหนือของเกาะพะงัน ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการนำร่อง เนื่องจากมีกายภาพที่เหมาะสม ทั้งความอุดมสมบูณ์สำหรับสัตว์ทะเล ไปจนถึงเส้นทางที่เหมาะสมต่อการขนย้าย และสามารถเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่
รศ.ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ถึงความสำเร็จของโครงการฯ ว่า “จากการศึกษาติดตามอย่างใกล้ชิดพบว่าผลสำเร็จของโครงการฯ ออกมาในเชิงบวกทั้งมิติของธรรมชาติ และมิติของมนุษย์ โดยเราพบว่าคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพตะกอนพื้นท้องทะเลในบริเวณกองปะการังเทียมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพบแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด ส่งผลให้ความหลากหลายของปลาเพิ่มขึ้นจาก 15 ชนิด เป็น 36 ชนิด ซึ่งแม้ความหนาแน่นของประชากรปลาในบริเวณกองปะการังเทียมจะยังไม่เทียบเท่าแนวปะการังธรรมชาติ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือมวลชีวภาพของปลาในด้านขนาดและน้ำหนักจะมีมากกว่า โดยปลาที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาหางแข็ง ปลากล้วย ปลาข้างเหลือง และยังพบปลาที่เคยหายไปจากพื้นที่ได้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ปะการังเทียม นอกจากนี้เรายังพบการปกคลุมของสิ่งมีชีวิตเกาะติด โดยมีปะการังดำเป็นกลุ่มเด่นอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจะกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวปะการังธรรมชาติ รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชาวประมงในพื้นที่ในอนาคต”
“เราเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนมีแท่นกับหลังทำโครงการฯ ซึ่งจากอาชีพหลักของเราที่เป็นชาวประมงอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราไม่ต้องออกไปจับปลาไกลเกินไป และมีกลุ่มปลาเศรษฐกิจอยู่เยอะขึ้น ซึ่งปลาบางชนิดที่แต่ก่อนไม่เคยมีมาก็เริ่มมีเข้ามามากขึ้น” นายคำนึง สิงหนาท หรือพี่ยุ่ง ชาวประมงในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำกล่าวเสริม
นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงการกำกับดูแลของภาครัฐว่า “เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์และสำรวจโครงการฯ อย่างแม่นยำสำหรับการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในอนาคต ทำให้เราจำเป็นต้องออกมาตรการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่คุ้มครองก่อนในช่วง 1-2 ปีแรก หลังจากนั้นเรามีแผนที่จะเปิดให้พื้นที่ส่วนนี้สามารถทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น คันเบ็ด รวมถึงเปิดให้เป็นจุดดำน้ำสำคัญแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเรามองว่ามีความสวยงามทัดเทียมกับจุดดำน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ โดยหากผลสำรวจและเก็บข้อมูล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการรับรองจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่าเป็นที่น่าพอใจ และให้ประโยชน์มากกว่าให้โทษ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะตั้งเป้าแผนงานในการต่อยอดในพื้นที่อื่นต่อไป”
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัทพลังงานชั้นนำของโลก ได้บุกเบิกแนวคิดของโครงการฯ และร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมและผู้ประกอบการปิโตรเลียมรายอื่นๆ ในอ่าวไทย เพื่อนำโครงสร้างเหล็กจำลองวัสดุเดียวกับขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปวางไว้ในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำ ของเกาะพะงันเพื่อผลักดันให้เกิดโครงการศึกษาทดลองอย่างจริงจังร่วมกัน โดยได้ผลประจักษ์ของประชากรปลาและสิ่งมีชีวิตเกาะติดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินงานจริง ทั้ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมเจ้าท่า กรมประมง กองทัพเรือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงเกิดเป็นโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โครงการนำร่องฯ) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโครงการฯ ร่วมกับ เชฟรอน ผู้ส่งมอบขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วจำนวน 7 ขาแท่น ให้แก่ ทช. ในปี 2563 เพื่อนำไปจัดวางเป็นปะการังเทียม รวมทั้งให้การสนับสนุนในการจัดวางและงบประมาณการดำเนินโครงการฯ พร้อมด้วยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาทางวิชาการให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาการของทั้งในและต่างประเทศ จนนำมาสู่ผลสำเร็จจากการจัดวางขาแท่นปิโตรเลียมตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในวันนี้
“จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากขาแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการนำไปจัดการบนฝั่ง” นายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เล่าถึงที่มาของโครงการนำร่องฯ ว่า “อ่าวไทยเปรียบเสมือนบ้านของเรา โดยตลอดกว่า 60 ปีของการดำเนินธุรกิจของเชฟรอนในประเทศไทย เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และได้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลมาตลอด เราสังเกตถึงความอุดมสมบูณ์และการเติบโตของประชากรปลาในบริเวณแท่นผลิตปิโตรเลียม โดยมีปลาหลากหลายชนิด รวมถึงฉลามวาฬเข้ามาแวะเวียนเสมอ โดยนอกจากบทบาทขณะที่อยู่กลางอ่าวไทยในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศแล้ว ขาแท่นหลุมปิโตรเลียมยังมีอีกหนึ่งบทบาทแฝงซึ่งทำหน้าที่เสมือนปะการังเทียมอยู่ตลอด จึงเกิดแนวคิดต่อยอดการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรทางทะเลรวมถึงประชากรปลาผ่านการพลิกบทบาทจากปลายทางของขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วสู่บ้านปลาแห่งใหม่ โดยแม้จะเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ในฐานะบริษัทพลังงานที่มีกิจการทั่วโลก เราจึงสามารถนำโครงการ Rigs-to-Reefs ที่เชฟรอนเคยทำจากต่างประเทศมาปรับใช้สำหรับโครงการนี้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้การต่อยอดโครงการในประเทศไทย”
หลังจากจัดวางแท่นปะการังเทียมเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนตุลาคม 2565 เรียกได้ว่าความคาดหวังดังกล่าวเริ่มกลายเป็นความจริง โดยอ่าวโฉลกหลำบริเวณทางเหนือของเกาะพะงัน ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการนำร่อง เนื่องจากมีกายภาพที่เหมาะสม ทั้งความอุดมสมบูณ์สำหรับสัตว์ทะเล ไปจนถึงเส้นทางที่เหมาะสมต่อการขนย้าย และสามารถเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่
รศ.ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ถึงความสำเร็จของโครงการฯ ว่า “จากการศึกษาติดตามอย่างใกล้ชิดพบว่าผลสำเร็จของโครงการฯ ออกมาในเชิงบวกทั้งมิติของธรรมชาติ และมิติของมนุษย์ โดยเราพบว่าคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพตะกอนพื้นท้องทะเลในบริเวณกองปะการังเทียมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพบแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด ส่งผลให้ความหลากหลายของปลาเพิ่มขึ้นจาก 15 ชนิด เป็น 36 ชนิด ซึ่งแม้ความหนาแน่นของประชากรปลาในบริเวณกองปะการังเทียมจะยังไม่เทียบเท่าแนวปะการังธรรมชาติ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือมวลชีวภาพของปลาในด้านขนาดและน้ำหนักจะมีมากกว่า โดยปลาที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาหางแข็ง ปลากล้วย ปลาข้างเหลือง และยังพบปลาที่เคยหายไปจากพื้นที่ได้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ปะการังเทียม นอกจากนี้เรายังพบการปกคลุมของสิ่งมีชีวิตเกาะติด โดยมีปะการังดำเป็นกลุ่มเด่นอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจะกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวปะการังธรรมชาติ รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชาวประมงในพื้นที่ในอนาคต”
“เราเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนมีแท่นกับหลังทำโครงการฯ ซึ่งจากอาชีพหลักของเราที่เป็นชาวประมงอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราไม่ต้องออกไปจับปลาไกลเกินไป และมีกลุ่มปลาเศรษฐกิจอยู่เยอะขึ้น ซึ่งปลาบางชนิดที่แต่ก่อนไม่เคยมีมาก็เริ่มมีเข้ามามากขึ้น” นายคำนึง สิงหนาท หรือพี่ยุ่ง ชาวประมงในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำกล่าวเสริม
นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงการกำกับดูแลของภาครัฐว่า “เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์และสำรวจโครงการฯ อย่างแม่นยำสำหรับการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในอนาคต ทำให้เราจำเป็นต้องออกมาตรการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่คุ้มครองก่อนในช่วง 1-2 ปีแรก หลังจากนั้นเรามีแผนที่จะเปิดให้พื้นที่ส่วนนี้สามารถทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น คันเบ็ด รวมถึงเปิดให้เป็นจุดดำน้ำสำคัญแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเรามองว่ามีความสวยงามทัดเทียมกับจุดดำน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ โดยหากผลสำรวจและเก็บข้อมูล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการรับรองจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่าเป็นที่น่าพอใจ และให้ประโยชน์มากกว่าให้โทษ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะตั้งเป้าแผนงานในการต่อยอดในพื้นที่อื่นต่อไป”