โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 3”

เมื่อเร็วๆ นี้ เชฟรอน จับมือพันธมิตร ประกาศผลและมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดสิ่งประดิษฐ์โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 3” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ที่งาน Maker Faire Bangkok 2019 ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา โดยหัวข้อการประกวดในปีนี้คือ Green Innovation
นวัตกรรมโลกสีเขียว”
ท้าทายเมกเกอร์เยาวชนสายสามัญและอาชีวะศึกษาในการคิดค้นและลงมือสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และคนในสังคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษได้ หรือไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ประหยัดพลังงาน ผู้ชนะทั้งสองทีมจะได้ไปร่วมงาน Maker Faire Bay Area มหกรรมแสดงสิ่งประดิษฐ์ของเหล่าเมกเกอร์ ณ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา และรางวัลอื่นๆ รวมมูลกว่า 1.2 ล้านบาท

 

โครงการ Clean Oyster จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี ผลงานชนะเลิศจากสายอาชีพ จากสองหนุ่มเมกเกอร์เพื่อนซี้ นายนูรุดดีน เจะปี ชั้น ปวส.1 อายุ 19 ปี และนายวัฒนพงศ์
เพชรรัตน์ ชั้นปวส
. 2 อายุ 20 ปี น้องๆ ได้กล่าวว่า “พวกผมได้ไอเดียจากแนวคิดที่ต้องการจะยกระดับคุณภาพ “หอยนางรม” สินค้าขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานีที่ก่อนหน้านี้มียอดขายตกลงมาก เพราะมีคำเตือนเรื่องการบริโภคหอยนางรมที่อาจล้างไม่สะอาดเพียงพอ  

 

ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่พวกเขาอยากจะสร้างนวัตกรรมมาแก้ไข จึงลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรมฟาร์มหอยนางรม นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่อง Clean Oyster ที่มีกลไกทำความสะอาดหอยด้วยระบบคลื่นน้ำ ที่ทำหน้าที่หลักสองประการคือทำให้หอยรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังอาศัยอยู่ในแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ หอยนางรมก็จะเปิดปาก ให้คลื่นน้ำสามารถเข้าไปพาสิ่งสกปรกออกมาจากตัวหอยนางรม ส่วนสิ่งสกปรกที่ออกมาจากตัวหอยจะถูกกำจัดโดยระบบกรองสามชั้นที่ติดตั้งในเครื่อง Clean Oyster “สิ่งที่ทำให้พวกเราสามารถชนะการแข่งขัน Young Makers Contest ครั้งที่ 3 ได้ คือใจที่มุ่งมั่น ต้องไม่หยุดพยายาม พัฒนาผลงานเรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จ ต้องขอขอบคุณอาจารย์เกียรติศักดิ์ เส้งพัฒน์ ที่ให้คำปรึกษา ความรู้ และความช่วยเหลือต่างๆ จนพวกเราสามารถประดิษฐ์เครื่อง Clean Oyster ได้สำเร็จ” นายนูรุดดีนกล่าว

โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 3”

โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 3”

สำหรับผลงานผู้ชนะเลิศสายสามัญ หุ่นยนต์ขจัดคราบสกปรกบนผิวน้ำ จากโรงเรียนสตรีพัทลุง กว่าจะออกมาเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่คว้ารางวัลชนะเลิศได้นี้ 2 หนุ่มเมกเกอร์มือใหม่ นายมานพ
คงศักดิ์ และนายสุรศักดิ์ ฟองหิรัญศิริ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อายุ 17 ปี ใช้เวลาพัฒนาและต่อยอดถึง 6 ปี โดยจุดเริ่มต้นของการสร้างสิ่งประดิษฐ์เปลี่ยนโลกนี้เกิดจากต้นเหตุบริเวณโรงเรียนของเด็กๆ ที่อยู่ติดกับคลองที่มีน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วโรงเรียนและชุมชนทำให้ทั้งเด็กนักเรียนและชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เมื่อได้ลงมือศึกษาเด็กๆ พบว่า ต้นเหตุของกลิ่นเหม็นคือ คราบน้ำมันที่ถูกปล่อยทิ้งลงในคลองซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย เด็กๆ จึงริเริ่มประดิษฐ์หุ่นยนต์ขจัดคราบสิ่งสกปรกบนผิวน้ำที่ทำจากวัสดุที่มีการคิดค้นมาเป็นอย่างดีว่าสามารถขจัดคราบน้ำมันได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักการทำงานคือ ตัวหุ่นยนต์มีการติดกล้องไว้ด้านบนเพื่อใช้ตรวจสอบว่ามีคราบน้ำมันอยู่บริเวณใดบ้างซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงยากได้ และยังช่วยลดงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เก็บสิ่งปฏิกูลบริเวณแม่น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ ตัวหุ่นยนต์นี้มีลูกกลิ้งที่ใช้สำหรับเก็บคราบน้ำมันซึ่งทำงานโดยแบตเตอรี่และโซลาร์เซลล์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้นานขึ้นถึงสามสิบนาที


นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้กล่าวว่า "เป็นที่ยอมรับว่า ‘เมกเกอร์’ หรือนักสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ ผลงานของเมกเกอร์สามารถนำไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ รวมถึงเป็นบ่อเกิดของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนวัฒนธรรมเมกเกอร์ รวมถึงประเทศไทย โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ประกาศวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น ‘เมกเกอร์เนชั่น’ หรือ ‘เมืองแห่งนักพัฒนา’ ซึ่งเชฟรอนยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์นี้ โดยร่วมกับ สวทช. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กลุ่มเมกเกอร์ในประเทศไทย และองค์กรพันธมิตร ภายใต้โครงการ ‘Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต’ ส่งเสริมการพัฒนาของวัฒนธรรมเมกเกอร์ในสังคมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงานเมกเกอร์แฟร์ เพื่อเป็นเวทีให้เมกเกอร์ได้แสดงผลงานและแนะนำวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และได้กลายเป็นงานเมกเกอร์แฟร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของเมกเกอร์เยาวชนสายสามัญและอาชีพ Young Makers Contest ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยมีเยาวชนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเพิ่มมากขึ้นทุกปี นอกจากนั้นผลงานที่ส่งเข้าประกวดจำนวนไม่น้อยยังมีศักยภาพสามารถนำไปผลิตและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้จริง สะท้อนให้เห็นว่าเยาวชนไทยมีศักยภาพในการสร้างสรรค์ หรือมีความเป็นเมกเกอร์อยู่ในตัวสูงมาก นับเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง"