ข่าวประชาสัมพันธ์ เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย สืบสานพระราชปณิธานตามรอยพ่อหลวง ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง

เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน  แถลงผลสำเร็จของโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 5 ภายใต้แนวคิด แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี เพื่อสร้างต้นแบบความสำเร็จในลุ่มน้ำต่างๆ ซึ่งมีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน ตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำบทสรุปของโครงการตลอด 5 ปี มาสร้างแรงบันดาลใจและส่งต่อองค์ความรู้ให้คนเมืองได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานตามแนวทางศาสตร์พระราชาต่อไป

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “จากกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงห่วงใยต่อปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก นำมาสู่แรงบันดาลใจในการดำเนินโครงการ พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนถึงความสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก โดยนำแนวทางศาสตร์พระราชา ทั้งในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายใต้แนวคิดโคก หนอง นา โมเดล ตามลักษณะภูมิสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง โดยโครงการฯ ได้ดำเนินงานมาจนถึงปีที่ 5 จนสัมฤทธิ์ผลขยายเครือข่ายออกไปถึง 24 ลุ่มน้ำ จาก 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศไทย 

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “เชฟรอนและพันธมิตรโครงการฯ ทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ ในปีที่ 5 เราดำเนินการภายใต้แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ โดยนำภารกิจ ‘เอามื้อ’ หรือ การลงแขกเกี่ยวข้าวตามประเพณีดั้งเดิมของไทย มาเป็นกลวิธีในการสร้างความสามัคคีและขับเคลื่อนขยายเครือข่ายไปสู่ลุ่มน้ำสำคัญทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานในอีกสองโครงการหลัก คือ โครงการ ‘ฟื้นฟูลุ่มน้ำป่าสักตามรอยพ่อ’ โดยร่วมมือกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติและสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ด้วยการจัดอบรมวิทยากรและพัฒนาแกนนำ ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการฝึกอาชีพเสริม และ ‘โครงการวิจัยการออกแบบเชิงภูมิสังคมไทย การติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม’ โดยความร่วมมือกับศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สจล. (ITOKmitl) เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่ได้มีการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ตามศาสตร์พระราชาใน 3 พื้นที่ คือ จังหวัดลำปาง จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดตาก รวม 300 ไร่ ให้เป็นไปอย่างมีระบบและได้มาตรฐานทางวิชาการ โดยตลอด 5 ปี ที่ผ่านมา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมจากการนำศาสตร์พระราชามาช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง และยกระดับมีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร เชฟรอนจะยังคงมุ่งมั่นจะสืบสานพระราชปณิธานตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน”

ด้านผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. หนึ่งในภาคีเครือข่ายภาควิชาการ กล่าวว่า “สลจ. ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการออกแบบการใช้พื้นที่ตามแนวคิด ‘โคก หนอง นา โมเดล’ และสภาพภูมิสังคม พร้อมร่วมจัดกิจกรรม ‘เอามื้อสามัคคี’ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี อุดรธานี และเชียงใหม่ เพื่อสร้างต้นแบบในแต่ละภาคและแต่ละภูมิสังคม ที่มีความแตกต่างกันกันอย่างชัดเจนทั้งด้านสภาพดิน น้ำ อากาศ และภูมิสังคมโดยรอบ รวมถึงอาชีพและพื้นฐานทางการเกษตรของเจ้าของพื้นที่ แต่สามารถนำศาสตร์พระราชาเข้าไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม โดยกิจกรรมได้รับผลตอบรับที่น่าพึงพอใจ มีผู้เข้าร่วมเอามื้อทั้งสิ้นกว่า 2,000 คน การนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จในพื้นที่ต่างๆ นี้ จะทำให้เกิดการรับรู้และขยายผลมากยิ่งขึ้น”

ผศ.ดร.มลฑล แก่นมณี คณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. “ต้นแบบ” พื้นที่เอามื้อสามัคคีในเมือง กล่าวว่า “สจล. ได้ร่วมดำเนินงานกับโครงการฯตั้งแต่ปีที่ 3 พ.ศ. 2558 โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการออกแบบการใช้พื้นที่และการกักเก็บน้ำตามแนวคิด โคก หนอง นา โมเดล’ และตามสภาพภูมิสังคมให้กับประชาชนผู้สนใจ ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก จนเกิดโครงการการจัดอบรมคณาจารย์และนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้ง 18 สถาบัน เพื่อขยายเครือข่ายภาควิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการประชาชนที่สนใจในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ สำหรับโครงการฯในปีที่ 5 นี้ สจล.ได้นำพื้นที่กสิกรรมแปลงเกษตรสาธิตของคณะเทคโนโลยีการเกษตรขนาด 4 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำขัง ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ ไม่สามารถปลูกอะไรได้ดีนัก มาออกแบบและปรับปรุงตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และแนวทางศาสตร์พระราชา อาทิ ขุดคลองไส้ไก่ ปั้นหัวคันนาทองคำ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ห่มฟางบำรุงดิน เพาะกล้าไม้ ทำระเบิดจุลินทรีย์ทำปุ๋ยหมัก และทำแปลงผักปลอดสารพิษ พื้นที่แห่งนี้ก็จะเป็นสถานที่เรียนรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งรวมรวบองค์ความรู้ในสหวิทยาการด้านเทคโนโลยีการเกษตร การแปรรูปเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร และการออกแบบพื้นที่ รวมถึงสร้างสุทรียะให้คนที่เข้ามาชมด้วย

ด้าน ครูสุขะชัย ศุภศิริ แห่งไร่สุขกลางใจ ต.ป่าหวาย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี “ต้นแบบ” เครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลอง กล่าวว่า “ซื้อที่ดิน 32 ไร่ผืนแรกเพื่อสานฝันคุณพ่อที่อยากเป็นเกษตรกร เริ่มปลูกไม้ผลก่อน แต่ก็ตายหมด จึงเน้นการสร้างป่าด้วยพันธุ์ไม้หลายประเภท เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ จากนั้นก็ซื้อแปลงที่ 2 จำนวน 23 ไร่ เพื่อทำตามความฝันของตัวเอง เป็นพื้นที่อยู่ท่ามกลางเกษตรเชิงเดี่ยว ทำให้สภาพดินเสียปนเปื้อนสารเคมี หลังจากได้เข้าอบรมความรู้เรื่องศาสตร์พระราชา ผมจึงอยากพิสูจน์ให้ชาวบ้านเห็นว่าศาสตร์พระราชาสามารถพลิกฟื้นผืนดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารได้ ตั้งใจจะทำนาบนพื้นที่นี้ โดยได้รับคำแนะนำในการออกแบบพื้นที่จาก ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ซึ่งในอนาคตหลังเกษียณอายุราชการ และจะกลับมาสร้างศูนย์เรียนรู้ชีวิตให้กับชาวบ้านและเด็กๆ ในชุมชน และจะขอเป็นครูตลอดชีวิตทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

ด้านนายแสวง ศรีธรรมบุตร หรือลุงแสวงผู้มั่งคั่ง เครือข่ายคริสตจักรนาเรียง บ้านนาเรียง ต.ตาดทอง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี  ‘ต้นแบบ’ เครือข่ายลุ่มน้ำชี  กล่าวว่า “ผมเคยหมดหวังกับที่ดินของตัวเอง เพราะเป็นดินลูกรัง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ระกาศขายที่ราคาถูกก็ไม่มีใครซื้อ จึงไปอบรมเรื่องศาสตร์พระราชาที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง พอดีมีคนต้องการดินลูกรังเพื่อไปทำถนน เลยให้เขาขุดดินไปฟรีๆ แลกกับขุดบ่อน้ำให้ 9 บ่อ เพราะแต่ก่อนไม่รู้ว่าต้องเก็บน้ำอย่างไร เวลาฝนตกได้แต่มองดูน้ำไหลไปหมดภายในเวลาแค่ 30 นาที หลังจากนั้นเริ่มทำตามศาสตร์พระราชา ใช้เวลาแค่ปีกว่าจากผืนดินที่เป็นหินปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น สามารถปลูกพืชผักผลไม้ได้อุดมสมบูรณ์ มีปลาเต็มบ่อ ที่สำคัญครอบครัวได้กลับมาอยู่อย่างพร้อมหน้าเป็นครอบครัวที่อบอุ่นอีกครั้ง และในอนาคตพื้นที่แห่งนี้จะพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาการเกษตร เพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่ผู้สนใจต่อไป”

ด้านพระวีระยุทธ์ อภิวีโร (ครูบาจ๊อก) วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม บ.อมลอง ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ผู้นำหลักแนวความคิด “บวร” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้ โดยเริ่มจากวัดเข้มแข็งก่อน จึงชวนชาวบ้านมาตั้งเป็นศูนย์ฯ ชวนราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียนมาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเผยแพร่ศาสตร์พระราชา พระนักพัฒนา กล่าวว่า “ในปี 2551 วัดเริ่มนำศาสตร์พระราชามาใช้แก้ปัญหาปากท้องและปลดหนี้ของชาวบ้านที่เกิดจากการปลูกสตรอเบอร์รี่แล้วตายหมดทั้งหมู่บ้าน ก็มีเอกชนและหน่วยงานต่างๆสนใจ ลงมาดูพื้นที่ทำวิจัยร่วมกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี ประกอบกับได้นำความรู้จากการอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องและอีกหลายๆ ที่มาใช้ เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน จนชาวบ้านเริ่มปลดหนี้ได้ เมื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็มาทำเรื่องการศึกษาพอเพียง ทำโรงเรียนเพื่อให้ชาวบ้านอยู่รอดในพื้นที่ของเขา ตอนนี้ชุมชนเป็นพึ่งพาให้กับหมู่บ้านอื่นจาก 1 เป็น 20 หมู่บ้านแล้ว นอกจากนี้ยังจัดตั้ง ‘ศูนย์ราษฎร’ หรือ ‘ศูนย์ของชาวบ้าน’ ให้ชุมชนลุกขึ้นมาบริหารจัดการกันเองทุกเรื่อง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนใน 10 ปีที่ทำมา ได้แก่ ป่าฟื้นกลับมา มีน้ำใช้ตลอดปี ดินมีชีวิตปลูกอะไรก็งอกงาม ชาวบ้านมีรายได้ สามารถปลดหนี้ได้”

ทั้งนี้ โครงการฯ เปิดโอกาสให้คนเมืองได้ชิมและช็อปกันอย่างจุใจกับผลิตผลอินทรีย์จากเครือข่ายเกษตรกรในโครงการกว่า 40 ร้านค้า พร้อมชมนิทรรศการตัวอย่างความสำเร็จของบุคคลต้นแบบ และร่วมสนุกกับกิจกรรมสาธิตในวิถีเกษตรอินทรีย์ ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ ผู้ที่สนใจเรียนรู้ศาสตร์พระราชา สามารถติดตามโครงการฯ ได้ที่เฟซบุ๊ก “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking

เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง
เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง
เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง
เชฟรอน รวมพลังภาคีเครือข่าย ขยายผลศาสตร์แห่งพระราชาสู่สังคมเมือง